|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลแม่ต้านตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่าสองยาง ซึ่งเดิมอำเภอท่าสองยางเป็นกิ่งอำเภออยู่ในเขตการปกครองของ
อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ทำการกิ่งอำเภอในขณะนั้นตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านท่าสองยาง ตำบลท่าสองยาง หรือที่เรียกว่า
“บ้านแม่เมยหรือบ้านแม่ตะวอ” พ.ศ. 2491 กิ่งอำเภอท่าสองยางได้โอนมาขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของแม่สอด จังหวัดตาก
และย้ายที่ทำการ
กิ่งอำเภอมาตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่ต้าน ตำบลแม่ต้าน พ.ศ. 2501 กิ่งอำเภอท่าสองยางได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ
“อำเภอท่าสองยาง” อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดตาก พ.ศ.2525
ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ถนนประสิทธิ์ศึกษา หมู่ที่ 1
เทศบาลตำบลแม่ต้านเดิมได้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลแม่ต้าน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 7 มกราคม 2500
มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ว่าการอำเภอท่าสองยาง และได้ยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลแม่ต้าน ในปี พ.ศ. 2542 เมื่อ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
ย้ายสำนักงานไปอยู่เลขที่ 447 หมู่ 2 ซอยประปาใหม่ ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตากเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
และในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2555
ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่อาคารสำนักงานเทศบาลตำบลแม่ต้านแห่งใหม่ เลขที่ 333 หมู่ที่ 2
บริเวณถนนทางหลวงแผ่นดิน 105 (สายแม่สอด-แม่สะเรียง) ถึงปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลแม่ต้านตั้งอยู่ในเขตตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2.75 ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ 1,718.75 ไร่ โดยมีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดตากตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 เป็นระยะทาง 173 กิโลเมตร
และห่างจากอำเภอแม่สอด ระยะทาง 83 กิโลเมตร |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต้าน และทางหลวงหมายเลข 105 |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
แม่น้ำเมย (เขตแบ่งชายแดนประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์) |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
แม่น้ำเมย และเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต้าน |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ลำห้วยแม่ต้าน และเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต้าน |
|
|
|
    |
|
|
|
|
|
|
สภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบสูงเชิงเขา มีที่ราบเล็กน้อยตาม
ริมแม่น้ำ และตามหุบ
เขาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง |
ภูเขา มีเทือกเขาถนนธงชัย ทอดยาวจากเหนือจดใต้ |
แม่น้ำ แม่น้ำเมย กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า |
|
|
|
|
|
|
เนื่องจากเขตเทศบาลตำบลแม่ต้าน ตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาถนนธงชัยซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทย และอยู่ในร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามันพัดผ่าน ทำให้ภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน
จึงทำให้ลักษณะภูมิอากาศในเขตเทศบาลโดยทั่วไป มีสภาพอากาศเย็นสบาย สภาพอากาศประกอบด้วย 3 ฤดู |

 |
ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม |

 |
ฤดูหนาว จะเริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ |

 |
ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม - เมษายน |
|
|
|
|
|
เกษตรกรรม |
มีการกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 30 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยเฉพาะการทำไร่หมุนเวียน
ซึ่งเป็นระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชผักผสมผสาน พืชผักทุกชนิดในพื้นที่เกษตรพื้นที่เดียวกัน มีการปลูกผักสวนครัว
ผลไม้ เอาไว้บริโภคในครัวเรือนบ้าง |
|
|
|
พืชที่สำคัญในพื้นที่ |

 |
ข้าว โดยเฉพาะข้าวพันธุ์พื้นเมือง |

 |
พืชผักในระบบไร่หมุนเวียน เช่น ฟักเขียว แตงดอย เผือก มัน ฟักทอง ต้นหอม ผักชี ฯลฯ |

 |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ |

 |
มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น |
การประมง |
เทศบาลตำบลแม่ต้านมีพื้นที่ติดแม่น้ำเมยกั้นระหว่างประเทศไทย ดังนั้น การประมงในพื้นที่
เทศบาลตำบลแม่ต้าน จึงเป็นการประมงน้ำจืดตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำน้ำเมยและ ลำห้วยแม่ต้าน ห้วยแม่โพธิ์ |
การปศุสัตว์ |
การปศุสัตว์ในพื้นที่เทศบาลตำบลแม่ต้าน พื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย การทำปศุสัตว์
การเลี้ยงเชิงพาณิชย์มีน้อยอยู่นอกเขตเทศบาล สัตว์เลี้ยง ได้แก่ โคเนื้อ กระบือ สุกร ไก่ และมีการในบางครัวเรือน |
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 3,976 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 1,961 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.32 |

 |
หญิง จำนวน 2,015 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.68 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,39 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 1,445.82 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
0 |
|
แม่ต้าน |
591 |
558 |
1,149 |
5 |
|
 |
1 |
|
แม่ต้าน |
633 |
690 |
1,323 |
723 |
 |
|
2 |
|
ลำร้อง |
737 |
767 |
1,504 |
664 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
1,961 |
2,015 |
3,976 |
1,392 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|